บายศรีผ้าไทย เป็นศิลปะประดิษฐ์ชั้นสูงของไทย ที่ถ่ายทอดให้เห็นถึงความละเอียดอ่อนช้อยแต่งามสง่า นิยมในการใช้บายศรีประกอบในพิธีมงคลต่างๆ ของชาวไทย

Blogroll

วันอาทิตย์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2559

ขันไหว้สามังคละ บายศรีชาวล้านนา


ขันไหว้สามังคละ
ขัน (ภาษาล้านนา) 
หมายถึง พานของชาวล้านนาถือเป็นของสูงในการสักการบูชาบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือ         
ไหว้สา (ภาษาล้านนา) 
นั้นหมายถึงไหว้ด้วยความเคารพนอบน้อม ซึ่งหมายถึงการ ให้ความเคารพแก่บุคคลสำคัญ   
มังคละ (ภาษาล้านนา) 
หมายถึง ความเป็นสิริมงคลในทางล้านนามี ๑๐๘ ประการ ถือเป็นมงคลสูงสุด
              
การประดิษฐ์ชุดขันไหว้สามังคละ   
     ประดิษฐ์ขึ้นตามความเชื่อของชาวล้านนาในเรื่องการยกยอบุคคลสำคัญที่ผู้มอบให้การเคารพนับถือ  ซึ่งความหมายขององค์ประกอบของขันมังคละ มีดังต่อไปนี้
- บายศรีล้านนา   
บายศรีเครื่องสักการะล้านนาชนิดหนึ่งจัดเป็นเครื่องสักการะชั้นสูงของชาวล้านนา ผู้ใดได้รับถือเป็นมงคลชีวิต
- สวยดอก          
สวยดอกเครื่องสักการะอีกประเภทหนึ่งใช้ในการสักการะบุคคลสำคัญ นิยมใช้ในทุกเทศกาลของชาวล้านนา
- น้ำอบ    
เครื่องหอมที่ชาวล้านนานิยมใช้ในเทศกาลต่างๆ ถือเป็นน้ำที่สูงคุณค่าควรแก่การบูชา
- น้ำต้นและสลุง     
น้ำต้น (คนโท) เป็นสัญลักษณ์แห่งความชุ่มเย็นแก่ผู้ที่ได้รับ
- หม้อน้ำ     
สัญลักษณ์แห่งการมีน้ำใจของชาวล้านนาในสมัยโบราณ ชาวล้านนานิยมตั้งไว้บริเวณหน้าบ้านเพื่อให้ผู้เดินทางที่ผ่านไปมาสามารถตักดื่มกิน
- ผ้าต่อง (ผ้าขาวม้า)  
ชาวล้านนาเชื่อว่าหากมีงานสำคัญการได้ให้ผ้าใหม่ แล้วผู้นั้นจะสะอาดหมดจดดังนั้นการมอบผ้าใหม่ถือเป็นมงคลยิ่งแก่ผู้ให้และผู้รับ

ประโยชน์ใช้สอยของผลิตภัณฑ์
      บายศรีมีไว้สำหรับบูชาพระ บูชาเทพ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เราเคารพนับถือ และสำหรับตั้งโชว์
หรือให้เป็นของขวัญ ของที่ระลึก เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต แก่ผู้ให้ และผู้รับ อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์บายศรีแบบดั้งเดิมมิให้สูญหายไป
Share:

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

ขับเคลื่อนโดย Blogger.

Feature Post

Seacrh By Labels

Blogger templates